วันจันทร์ที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2555

1.            ประวัติความเป็นมาของกราฟิก
ประวัติความเป็นมา
งานกราฟิก มีประวัติความเป็นมาตามหลักฐานในอดีต เมื่อมนุษย์เริ่มรู้จักการขีดเขียน ขูด จารึกเป็นร่องรอย ให้ปรากฏเป็นหลักฐานในปัจจุบัน การออกแบบกราฟิกสมัยก่อนประวัติศาสตร์ จึงเป็นการเริ่มต้นการสื่อความหมายด้วยการวาดเขียน ให้ผู้อ่านตีความหมายได้ เรียกว่า Pictogram เช่นภาพคน ภาพสัตว์ ต้นไม้ ไว้บนผนังหรือบนเพดานถ้ำ และมีการแกะสลักลงบนเขาสัตว์ กระดูกสัตว์ ซึ่งใช้วิธีการวาดอย่างง่ายๆไม่มีรายละเอียดมาก     ต่อมาประมาณ 9000 ปี ก่อนคริสต์กาล ชาว Sumerien ในแคว้นเมโสโปเตเมีย ได้เริ่มเขียนตัวอักษรรูปลิ่ม (Cuneiform) และตัวอักษร Hieroglyphic ของชาวอียิปต์ งานกราฟิกเริ่มได้รับการยอมรับมากขึ้น เมื่อได้คิดค้นกระดาษและวิธีการพิมพ์ ปี ค.ศ.1440 Johann Gutenberg ชาวเยอรมัน ได้ประดิษฐ์เครื่องพิมพ์แบบตัวเรียง ที่สามารถพิมพ์ได้หลายครั้ง ครั้งละจำนวนมากๆ
 ในปี ค.ศ.1950 การออกแบบได้ชื่อว่าเป็น Typographical Style เป็นการพัฒนาโดยนักออกแบบชาวสวิส ได้นำวิธีการจัดวางตัวอักษรข้อความและภาพเป็นคอลัมภ์ มีการใช้ตารางช่วยให้อ่านง่ายมีความเป็นระเบียบ สวยงาม มีการจัดแถวของข้อความแบบชิดขอบด้านหน้าและด้านหลังตรงเสมอกัน   ตั้งแต่สมัยหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมา การออกแบบกราฟิก ได้พัฒนาและขยายขอบเขตงานออกไปอย่างกว้างขวาง ไม่จำกัดอยู่แต่ในสิ่งพิมพ์เท่านั้น โดยได้เข้าไปอยู่ในกระบวนการสื่อสารอื่นๆเช่น ภาพยนตร์ โทรทัศน์ วีดิทัศน์ การถ่ายภาพ โปสเตอร์ การโฆษณา ฯลฯ  การออกแบบกราฟิกปัจจุบัน เป็นยุคของอิเล็กทรอนิกส์ นวัตกรรมและเทคโนโลยี ได้นำเครื่องมือ เครื่องใช้ วัสดุอุปกรณ์ วัสดุสำเร็จรูป มาช่วยในการออกแบบกราฟิกได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การใช้คอมพิวเตอร์ ( Computer Graphics ) มีโปรแกรมด้านการจัดพิมพ์ตัวอักษรที่นิยมกันมากคือ Microsoft Word สามารถจัดเรียง วางรูปแบบ สร้างภาพ กราฟ แผนภูมิ จัดการและสร้างสรรค์ตัวอักษร โปรแกรมอื่นๆที่สนับสนุนงานกราฟิกอีกมากมาย เช่น Adobe Photoshop / Illustrator / PageMaker / CorelDraw / 3D Studio / LightWave 3D / AutoCad ฯลฯ นอกจากนี้ยังมีโปรแกรมที่ช่วยให้สามารถสร้างสรรค์งานกราฟิกบนเว็บ อีกมากเช่น Ulead Cool / Animagic GIF / Banner Maker เป็นต้น
           ปัจจุบันงานคอมพิวเตอร์กราฟิก จึงเป็นเทคโนโลยีที่เข้ามาเปลี่ยนรูปแบบ การออกแบบและสร้างสรรค์งานกราฟิกอย่างกว้างขวาง เนื่องจากให้ความสะดวก รวดเร็ว แก้ไขงาน ทำซ้ำงานทำได้ง่าย ตลอดจนการสั่งพิมพ์ หรือบันทึกเพื่อการพกพาในรูปแบบอื่นๆได้หลายวิธี

2.            บทบาทและความสำคัญของกราฟิก
บทบาท
งานกราฟิกต่างๆ  ถูกสร้างขึ้นเพื่อเป็นสัญลักษณ์แทนแก่นสารของประสบการณ์สำหรับมนุษย์  เพื่อให้มนุษย์ใช้เป็นสื่อเป็นสื่อกลางในการสื่อความหมายในการคิดและสื่อสารความหมายถึงกัน   ซึ่งทำให้เกิดการเรียนรู้ การศึกษา ความเข้าใจ น่าสนใจ และน่าเชื่อถือ ด้วยคุณสมบัติที่ดีของงานกราฟิกทำให้งานกราฟิกมีบทบาทสำคัญในการลดข้อจำกัดต่าง ๆ  ที่เกี่ยวข้องกับเงื่อนเวลา  ประสิทธิภาพของการคิด  การบันทึกและการจำ   ทำให้การสื่อความหมายต่อกันของมนุษย์เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ  และด้วยความเจริญก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยี   จำนวนประชากรโลกที่เพิ่มขึ้น ความเป็นโลกไร้พรมแดน  ความแตกต่างระหว่างบุคคล  สิ่งเหล่านี้เป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้มนุษย์จำเป็นต้องให้ความสำคัญกับงานกราฟิกมากขึ้น



ความสำคัญ
1.ใช้เป็นสื่อประกอบการสอน
2. ช่วยให้ผู้คนเข้าใจสิ่งนั้น ๆ ได้รวดเร็วกว่าใช้คำพูด ทำให้ประหยัดเวลา
3. ทำให้ผู้คนเกิดความสนใจ
4. ใช้ในการโน้มน้าวจิตใจในเรื่องต่าง ๆ เช่น ภาพโฆษณา การโฆษณาสินค้า
5. ใช้ในการจัดแสดงผลงาน หรือจัดนิทรรศการ
6.ใช้ในด้านเผยแพร่กิจกรรม การประชาสัมพันธ์ของทุกหน่วยงาน
7.ใช้ในการสร้างสรรค์ เปลี่ยนแปลงเจตคติ และสร้าง ความเข้าใจอันดีภายในและภายนอกองค์กร
   งานกราฟิกต่าง ๆ  ถูกสร้างขึ้นเพื่อเป็นสัญลักษณ์แทนแก่นสารของประสบการณ์สำหรับมนุษย์  เพื่อให้มนุษย์ใช้เป็นสื่อในการคิดและสื่อสารความหมายถึงกัน   ด้วยคุณสมบัติที่ดีของงานกราฟิกทำให้งานกราฟิกมีบทบาทสำคัญในการลดข้อจำกัดต่าง ๆที่เกี่ยวข้องกับเงื่อนเวลา  ประสิทธิภาพของการคิด   การบันทึกและการจำ   ทำให้การสื่อความหมายต่อกันของมนุษย์เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล   และด้วยความเจริญก้าวหน้าทางวิชาการ   ความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี  จำนวนประชากรโลกที่เพิ่มขึ้นและความเป็นโลกไร้พรมแดน  ความแตกต่างระหว่างบุคคล เป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้มนุษย์จำเป็นต้องให้ความสำคัญกับงานกราฟิกมากขึ้น         
1)  ความเจริญก้าวหน้าทางวิชาการ   
  มนุษย์ประสบความสำเร็จในการค้นพบความจริง และกระบวนการทางธรรมชาติมากมาย  ความรู้ที่ค้นพบใหม่นี้  ต้องการวิธีการและกระบวนการในการเก็บบันทึก  การจำ  และเผยแพร่  การใช้งานกราฟิกช่วยจะทำให้ได้ข้อมูลที่สามารถสื่อสารความหมายให้เข้าใจได้ง่ายและรวดเร็ว  สื่อความคิดถึงกันและกันได้ชัดเจนถูกต้อง  เพิ่มประสิทธิภาพให้กับการใช้ภาษาพูดและภาษาเขียน
2)  ความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี 
  เทคโนโลยีเจริญก้าวหน้าเป็นอย่างมากในปัจจุบัน ทำให้เกิดเครื่องมือสำหรับสร้างงานกราฟิกที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น สามารถผลิตงานได้ รวดเร็ว  มีปริมาณมาก  ง่ายต่อการใช้งาน  ราคาถูกลง  และเผยแพร่ได้สะดวกกว้างไกล โดยเฉพาะการใช้คอมพิวเตอร์ในงานกราฟิก และระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์  ความนิยมใช้งานกราฟิกช่วยในการสื่อความหมายจึงเกิดขึ้นแพร่หลายในสื่อเกือบทุกประเภท
3)  จำนวนประชากรโลกที่เพิ่มขึ้น และความเป็นโลกไร้พรมแดน 
 ประชากรโลกที่เพิ่มขึ้น อย่างรวดเร็ว  การคมนาคมที่สามารถเดินทางไปทั่วทุกมุมโลกด้วยเวลาไม่มากนัก 
 และ การสื่อสารที่มีเครือข่ายครอบคลุมทั่วโลก  ทำให้เกิดความจำเป็นต่อการสื่อความหมายทางไกลระหว่างบุคคลและการสื่อความหมายกับประชากรกลุ่มใหญ่ในมุมต่าง ๆ ของโลก  เพื่อดำเนินการถ่ายทอดความรู้  แลกเปลี่ยนวัฒนธรรม  ความร่วมมือทางวิชาการ  ธุรกิจ และอื่น ๆทุกสิ่งทุกอย่างต้องดำเนินการด้วยข้อจำกัดของเงื่อนเวลาและประสิทธิภาพของการสื่อความหมาย  งานกราฟิกจึงเป็นเครื่องผ่อนแรงให้การสื่อความหมาย  สามารถสื่อสารได้เข้าใจง่ายและถูกต้องในเวลาสั้น
4)  ความแตกต่างระว่างบุคคล  บุคคลแต่ละคนมีความแตกต่างกันในด้านต่าง ๆ เช่น ความคิด
  ความเข้าใจ  ความสามารถ  อัตราการเรียนรู้  วิธีการเรียนรู้ และอื่น ๆ  ความแตกต่างเหล่านี้ทำให้การสื่อความหมายด้วยภาษาพูดและภาษาเขียนในบางครั้งไม่สามารถสร้างความเข้าใจได้ง่ายนัก การใช้งานกราฟิกเข้าช่วยจะทำให้ง่ายต่อการสื่อความหมาย  เพิ่มประสิทธิภาพของการคิดในบุคคลที่มีความแตกต่างได้เป็นอย่างดี

3.              ความหมายเกี่ยวกับกราฟิก
                ความหมายของกราฟิก             " กราฟิก " ( Graphic ) เป็นคำมาจากภาษากรีกว่า Graphikos หมายถึง การเขียนภาพด้วยสีและเขียนภาพขาวดำ และคำว่า " Graphein " มีความหมายทั้งการเขียนด้วยตัวหนังสือและการสื่อความหมายโดยการใช้เส้น เมื่อรวมทั้งคำ Graphikos และ Graphein เข้าด้วยกันวัสดุกราฟิกจะหมายถึงวัสดุใด ๆ ซึ่งแสดงความจริง แสดงความคิดอย่างชัดเจน โดยใช้ภาพวาด ภาพเขียน และอักษรข้อความรวมกัน ภาพวาดอาจจะเป็น แผนภาพ ( Diagram ) ภาพสเก็ต ( Sketch ) หรือแผนสถิติ ( Graph ) หรืออาจเป็นคำที่ใช้เป็นหัวเรื่อง ( Title ) คำอธิบายเพิ่มเติมของแผนภูมิ แผนภาพ แผนสถิติ และภาพโฆษณา อาจวาดเป็นการ์ตูนในรูปแบบหรือประเภทต่างๆ ภาพสเก็ต สัญลักษณ์ และภาพถ่าย สามารถใช้เป็นวัสดุกราฟิกเพื่อสื่อความหมายในเรื่องราวที่แสดงข้อเท็จจริงต่าง ๆได้
วัสดุกราฟิก
วัสดุกราฟิค ประกอบด้วยคำ 2 คำ คือ วัสดุ + กราฟิก
วัสดุ หมายถึงสิ่งของที่มีอายุการใช้งานระยะสั้น
 กราฟิก หมายถึงการแสดงด้วยลายเส้น

วัสดุกราฟิก หมายถึง วัสดุลายเส้นประกอบด้วย ภาพลายเส้น ตัวอักษร การ์ตูน และสัญลักษณ์ เพื่อเสนอเรื่องราวความรู้ หรือเนื้อหาสาระให้รับรู้และเข้าใจได้ง่ายรวดเร็ว
ประเภทของวัสดุกราฟิก
วัสดุกราฟิกมีหลายประเภทซึ่งสามารถจำแนกออกได้ตามแนวคิดของ วิททิช และชูลเลอร์ ซึ่งได้แบ่งวัสดุกราฟิกไว้เป็น 8 ประเภทดังนี้
1.แผนภูมิ (Chart)
2.แผนภาพ (Diagrams)
3.แผนสถิติ (Graphs)
4.ภาพโฆษณา (Posters)
5.การ์ตูน (Cartoons)
6.แผนที่และลูกโลก (Maps and Globe)
7.สัญลักษณ์ (Symbol)
8.รูปภาพ (Photographic) 

ขอบข่ายของงานกราฟฟิก
          
งานกราฟิกเป็นงานที่ดูเผิน ๆ น่านะเกี่ยวกับงานพิมพ์เท่านั้นแต่จริง ๆ แล้วงานกราฟิกยังเป็น งานที่มีความเกี่ยวพันกับงานอื่น ๆ อีก ได้แก่
การประชาสัมพันธ์ ถือได้ว่างานกราฟิกนี้เป็นงานที่ควบคู่ไปกับงานบริหาร เพราะเนื้อหาของ             การประชาสัมพันธ์ที่ออกไปนั้น หากไม่ดึงดูดความสนใจที่ดีแล้วย่อมไม่สามารถที่จะสื่อความหมาย กันระหว่าผู้ชมกับฝ่ายองค์กรได้งานโทรทัศน์ กราฟิกจะเกี่ยวข้องในส่วนที่เป็นหัวเรื่อง(title)สไลด์ฯลฯงานจัดฉากละคร เช่นการจัดฉากในรูปแบบต่าง ๆ การออกแบบตัวหนังสืองานหนังสือพิมพ์ วารสารนิยมใช้สัญลักษณ์ทางการฟิกกันมากเพราะสัญลักษณ์เหล่านี้ทำให้ผู้อ่านเข้าใจง่ายงานออกแบบ หรือแบบร่าง เช่นออกแบบบ้าน เขียนภาพเหมือนงานพิมพ์หรือทำสำเนาทำซิลค์สกรีน การออกแบบหนังสือ เครื่องหมาย สัญลักษณ์ต่าง ๆ





กราฟิกกับสังคมปัจจุบัน
         
 ปัจจุบันเทคโนโลยีได้วิวัฒนาการไปค่อนข้างรวดเร็ว การใช้ระบบการติดต่อสื่อสารที่มี ประสิทธิภาพมากขึ้น มีการกระจายของข้อมูลไปอย่างรวดเร็ว โดยอาจเป็นการกระจายข้อมูล จาก ที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง และการที่จะให้คนอีกซีกโลกหนึ่งเข้าใจความหมายของคนอีกซีกโลกหนึ่งนั้นเป็นเรื่องที่ไม่สามารถทำได้ง่ายนักเนื่องมาจากความแตกต่างกันทั้งทางด้านขนบธรรมเนียม ประเพณีวัฒนธรรม สภาพภูมิประเทศ สภาพดินฟ้าอากาศความเชื่อของแต่ละท้องถิ่น ดังนั้นการใช้งานกราฟิกที่ดีที่สามารถสื่อความหมายได้ชัดเจนถูกต้อง จะช่วยให้มนุษย์สามารถสื่อสารกันได้ เข้าใจกันได้ เกินจินตนาการร่วมกัน อีกทั้งยังเกิดทัศนคติที่ดีต่อกันด้วย หรือถึงขั้นคล้อยตามให้ปฏิบัติตามได้
4.ประเภทของภาพกราฟิก
Computer Graphics

ประเภทของกราฟิกส์
การสร้างภาพกราฟิกด้วยคอมพิวเตอร์ มีวิธีการสร้าง 2 แบบ คือ แบบบิตแมพ (Bit Mapped) และแบบเวกเตอร์ (Vector) หรือสโตรก (Stroked) แต่ละแบบวิธีการรสร้างภาพดังต่อไปนี้
Bitmap
กราฟิกแบบบิตแมปความหมายที่ค่อนข้างจะตรงไปตรงมา คือ มีลักษณะเป็นช่องๆ เหมือนตาราง แต่ละบิตก็คือส่วนหนึ่งของข้อมูลคอมพิวเตอร์ (ซึ่งก็คือสวิตซ์ปิดเปิดในหน่วยความจำ "1" หมายถึงเปิด และ "0" หมายถึงปิด) และสวิตซ์ปิดเปิดนี้ก็ยังหมายถึงสีดำและสีขาวอีกด้วย ดังนั้น ถ้าเราเอาบิตที่แตกต่างกันในแต่ละตารางมารวมกันเข้า เราจะสามารถสร้างภาพจากจุดดำและขาวเหล่านี้ได้ กราฟิกแบบบิตแมปทุกชนิดมีลักษณะที่เหมือนกันอยู่บางประการ ถ้าทำความเข้าใจส่วนต่างๆ เหล่านี้ เราสามารถที่จะหลีกเลี่ยงหรือป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้
Pixel คืออะไร
พิกเซล (เป็นคำที่ใช้แทนองค์ประกอบของภาพ) เป็นองค์ประกอบพื้นฐานของภาพบิตแมป ซึ่งองค์ประกอบย่อยๆ เหล่านี้ถูกรวมกันเข้าทำให้เกิดภาพ เราคงคุ้นเคยกับการที่ส่วนประกอบย่อยๆ มารวมกันเพื่อประกอบเป็นรายการสิ่งของต่างๆ เป็นต้นว่า เอาแต่ละชิ้นของบล็อกกระจกมาประกอบกันเป็นหน้าต่าง แต่ละเข็มของการเย็บปักถักร้อยประกอบกันกลายเป็นผลงานทางด้านเย็บปักถักร้อย 1 ชิ้น หรือแต่ละจุดของโลหะเงินประกอบกันเป็นรูปภาพ 1 รูป นั้นคือองค์ประกอบอาจจะเป็นแก้วชิ้นใหญ่บนหน้าต่าง หรือจุดโลหะเงินเล็กๆ บนแผ่นฟิล์มก็ได้ โดยแต่ละชิ้นเป็นองค์ประกอบที่แยกจากกัน เปรียบเทียบได้กับพิกเซลซึ่งถือเป็นหน่วยย่อยที่เล็กที่สุดของรูปภาพ พิกเซลมีความสำคัญต่อการสร้างกราฟิกของคอมพิวเตอร์มาก เพราะทุกๆ ส่วนของกราฟิก เช่น จุด เส้น แบบลายและสีของภาพ ล้วนเริ่มจากพิกเซลทั้งสิ้น พิกเซลหนึ่งๆ อาจจะมีขนาดความเข้มและสีแตกต่างกันได้ ในโลกแห่งดิจิตอลของรูปภาพคอมพิวเตอร์ พิกเซล ได้ถูกใช้สำหรับสิ่งต่างๆ เป็นต้นว่าจุดแต่ละจุดบนหน้าจอคอมพิวเตอร์ จุดแสดงความละเอียดของเครื่องพิมพ์แบบเลเซอร์ หรืออุปกรณ์แสดงผลประเภทกราฟิกอื่นๆ ของระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งบางครั้งอาจทำให้เราสับสนได้เพื่อให้เกิดความชัดเจน ขอให้คำจำกัดความดังต่อไปนี้ พิกเซล หมายถึง องค์ประกอบย่อยในไฟล์กราฟิกแบบบิตแมป วิดีโอพิกเซล หมายถึง องค์ประกอบย่อยของภาพในหน้าจอคอมพิวเตอร์ จุดหรือดอต หมายถึง ความละเอียดของภาพที่พิมพ์โดยเครื่องพิมพ์แบบเลเซอร์
เอสเป็กเรโซของภาพ (Image Aspect Ratio)
แอสเป็กเรโชของภาพ คือ อัตราส่วนระหว่างจำนวนพิกเซลทางแนวขวาง และจำนวนพิกเซลทางแนวดิ่งที่ใช้ในการสร้างภาพ หากจะยกตัวอย่างเปรียบเทียบกับกระดาษกราฟ จะเห็นได้ว่าภาพบิตแมปใดๆ ก็ตามจะมีจำนวนพิกเซลคงที่ในมิติแนวขวางและแนวดิ่ง ซึ่งอัตราส่วนมีไว้อ้างถึงขนาดของภาพและมักจะเขียนในรูปของ 800 x 600 (ซี่งหมายถึงรูปภาพที่มี 800 พิกเซลในแนวขวาง และ 600 บรรทัดของพิกเซลในแนวดิ่ง) เราสามารถคำนวณหาจำนวนพิกเซลทั้งหมดในรูปภาพได้โดยการคูณตัวเลขทั้งสองนี้เข้าด้วยกัน นั่นคือรูปภาพที่มีแอสเป็กเรโช 800 x 600 จะมีทั้งหมด 480,000 พิกเซล ซึ่งจำนวนดังกล่าวไม่ได้หมายถึงขนาดของไฟล์ของภาพนั้นๆ
รีโซลูชัน (Resolution)
รี โซลูชัน (Resolution) หมายถึง รายละเอียดที่อุปกรณ์แสดงกราฟิกชนิดหนึ่งมีอยู่ ค่ารีโซลูชันมักระบุเป็นจำนวนพิกเซลในแนวนอนคือแนวแกน X และจำนวนพิกเซลในแนวตั้งคือแนวแกน Y ดังนั้นรีโซลูชัน 720 x 348 จึงหมายความว่า อุปกรณ์แสดงกราฟิกชนิดนี้สามารถแสดงพิเซลในแนวนอนได้ไม่เกิน 720 พิกเซล และแสดงพิกเซลในแนวตั้งได้ไม่เกิน 348 พิกเซล ผู้ผลิตอุปกรณ์แสดงกราฟิกบางรายจะระบุค่ารีโซลูชันเป็นระดับสูง (High Resolution) ปานกลาง (Medium Resolution) และระดับต่ำ (Low Resolution) โดยพิจารณาจากจำนวนพิกเซลในแนวนอนเพียงอย่างเดียว ซึ่งมีหลักว่า ถ้าค่าน้อยกว่า 128 เป็นระดับต่ำ ค่าระหว่าง 128 ถึง 512 เป็นระดับกลาง ค่าสูงกว่า 512 เป็นระดับสูง สำหรับจอภาพขนาดปกติ ถ้ามีค่ารีโซลูชันมากกว่า 1500 ตาจะมองไม่เห็นแต่ละพิกเซลคือจะมองเห็นเป็นภาพที่มีความละเอียดคมชัดสูงมาก คอมพิวเตอร์กราฟิกที่ใช้กับฟิล์มถ่ายรูปในระดับมืออาชีพจะต้องใช้ค่ารีโซลู ชันสูงถึง 3000
Vector
กราฟิก แบบเวกเตอร์ต่างจากบิตแมปตรงที่บิตแมปนั้นประกอบไปด้วย จุดต่างๆ มากมาย แต่กราฟิกแบบเวกเตอร์ใช้สมการ ทางคณิตศาสตร์เป็นตัวสร้างภาพ เช่น วงกลม หรือเส้นตรง เป็นต้น ถึงแม้ว่าอาจจะฟังดูซับซ้อนสักเล็กน้อยแต่ภาพบางชนิดก็ถูกสร้างได้ง่าย หลักที่จะนำไปสู่กราฟิกแบบเวกเตอร์ก็คือ การรวมเอาคำสั่งทางคอมพิวเตอร์และสูตรทางคณิตศาสตร์เพื่ออธิบายเกี่ยวกับออ บเจ็กต์ ซึ่งจะปล่อยให้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์เช่น จอภาพ หรือเครื่องพิมพ์เป็นตัวกำหนดเองว่าจะวางจุดจริงๆ ไว้ที่ตำแหน่งใดในการสร้างภาพ คุณลักษณะเด่นเหล่านี้ทำให้กราฟิกแบบเวกเตอร์มีข้อได้เปรียบ และข้อเสียเปรียบมากมายกับกราฟิกแบบบิตแมป
ออบเจ็กต์ (Object)
ออบเจ็กต์ง่ายๆ (เช่น วงกลม เส้นตรง ทรงกลม ลูกบาศก์ และอื่นๆ เรียกว่ารูปทรงพื้นฐาน) สามารถใช้ในการสร้างออบเจ็กต์ที่ซับซ้อนขึ้น กราฟิกแบบเวกเตอร์สามารถสร้างรูปภาพโดยการรวมเอาออบเจ็กต์หลายๆ ชนิดมาผสมกันเราสามารถผสมออบเจ็กต์ต่างชนิดกัน (เช่น วงกลมและเส้นตรง) เพื่อสร้างภาพที่แตกต่างกัน กราฟิกแบบเวกเตอร์ใช้คำสั่งง่ายๆ เพื่อสร้างออบเจ็กต์พื้นฐาน ถ้าเขียนเป็นภาษาคำพูดแบบธรรมดา คำสั่งอาจจะอ่านได้ว่า "ลากเส้นตรงจากจุด A ไปยังจุด B" หรือ "ลากวงกลมรัศมี R โดยมีจุดศูนย์กลางอยู่ที่จุด P"
เปรียบเทียบ Bitmap VS Vector
กราฟิกแบบบิตแมป สามารถแสดงให้เห็นที่จอภาพได้เร็วกว่าภาพแบบเวกเตอร์ เช่น การแสดงภาพแบบบิตแมปขนาด 1000 ไบต์ จะทำโดยการใช้คำสั่งย้ายข้อมูลขนาด 1000 ไบต์ จากหน่วยความจำที่เก็บภาพไปยังหน่วยความจำของจอภาพ (คือ Video Display Buffer) ภาพนั้นก็จะปรากฎบนจอภาพทันที การแสดงภาพแบบเวกเตอร์คอมพิวเตอร์จะใช้เวลามากกว่า เนื่องจากคอมพิวเตอร์ต้อง ทำตามคำสั่งที่มีจำนวนมากกว่า
การเปลี่ยนแปลงขนาดภาพให้โตขึ้นหรือเล็กลงกว่าภาพเดิม กรณีภาพแบบบิตแมปจะทำได้ไม่มาก นอกจากนั้นยังอาจจะทำให้ลักษณะ ของภาพผิดเพี้ยนไปจากเดิมด้วย เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงขนาดภาพทำโดยวิธีการเพิ่มหรือลดพิกเซลจากที่มีอยู่ เดิม ภาพที่ขยายโต ขึ้นจะมองเห็นเป็นตารางสี่เหลี่ยมเรียงต่อกัน ทำให้ขาดความสวยงาม แต่ภาพแบบเวกเตอร์จะสามารถย่อและขยายขนาดได้มากกว่า โดยสัดส่วนและลักษณะของภาพยังคล้ายเดิม ยิ่งกว่านั้นเราสามารถขยายเฉพาะความกว้างหรือความสูง เพื่อให้มองเห็นเป็นภาพ ผอมหรืออ้วนกว่าภาพเดิมได้ด้วย

                                                                                                   
5.หลักการทำงานและการแสดงผลของภาพกราฟิก

หลักการทำงาน
          หลักการทำงานของภาพกราฟฟิก คือ ภาพที่เกิดบนจอคอมพิวเตอร์ เกิดจากการทำงานของโหมดสี RGB ซึ่งประกอบด้วย สีแดง สีเขียว และสีน้ำเงิน โดยใช้หลักยิงประจุไฟฟ้าให้เกิดการเปล่งแสงของสีทั้ง 3 สีมาผสมกัน ทำให้เกิดเป็นจุดสีสี่เหลี่ยมเล็กๆ ที่เรียกว่า พิกเซล (Pixel) ซึ่งมาจากคำว่า Picture กับ Element โดยพิกเซลจะมีหลากหลายสี เมื่อนำมาวางต่อกันจะเกิดเป็นรูปภาพ ซึ่งภาพที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์มี 2 ประเภท คือ แบบ Raster กับ Vector
          หลักการของภาพกราฟิกแบบ Raster เป็นภาพกราฟิกที่เกิดจากการเรียงตัวกันของจุดสี่เหลี่ยมเล็กๆ หลากหลายสี ซึ่งเรียกจุดสี่เหลี่ยมเล็กๆ นี้ว่าพิกเซล (Pixel) ในการสร้างภาพกราฟิกแบบ Raster จะ ต้องกำหนดจำนวนของพิกเซลให้กับภาพที่ต้องการสร้าง ถ้ากำหนดจำนวนพิกเซลน้อย เมื่อขยายภาพให้มีขนาดใหญ่ขึ้นจะทำให้มองเห็นภาพเป็นจุดสี่เหลี่ยมเล็กๆ หรือถ้ากำหนดจำนวนพิกเซลมากก็จะทำให้แฟ้มภาพมีขนาดใหญ่ ดังนั้นการกำหนดพิกเซลจึงควรกำหนดจำนวนพิกเซลให้เหมาะกับงานที่สร้าง
          หลักการของกราฟิกแบบ Vector เป็น ภาพกราฟิกที่เกิดจากการอ้างอิงความสัมพันธ์ทางคณิตศาสตร์ หรือการคำนวณซึ่งภาพจะมีความเป็นอิสระต่อกัน โดยแยกชิ้นส่วนของภาพทั้งหมดออกเป็นเส้นตรง เส้นโค้ง รูปทรง เมื่อมีการขยายภาพความละเอียดของภาพจะไม่ลดลง แฟ้มจะมีขนาดเล็กกว่าแบบ Raster ภาพกราฟิกแบบ Vector นิยมใช้เพื่องานสถาปัตย์ตกแต่งภายใน และการออกแบบต่างๆ เช่น การออกแบบอาคาร การออกแบบรถยนต์ การสร้างโลโก้ การสร้างการ์ตูน เป็นต้น

                 โดยระบบการแสดงผลของภาพ เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้จอภาพเป็นอุปกรณ์แสดงผล จะมีระบบการแสดงผลอยู่ 2 โหมดคือเท็กซ์โหมดกับกราฟฟิกส์โหมด
1. เท็กซ์โหมด

เป็น ระบบการแสดงผลพื้นฐานของจอภาพ ซึ่งแสดงผลในรูปของตัวอักษรหรือข้อความเท่านั้น ตัวอักษรที่ใช้แสดงจะมีการกำหนดรูปแบบหรือขนาดที่แน่นอนไว้แล้วในส่วนของ Character Generation ของการ์ดแสดงผล ดังนั้นจึงไม่สามารถแสดงผลที่เป็นรูปภาพต่าง ๆ ได้ ขนาดของการแสดงผลในเท็กซ์โหมด คือ แสดงผลของตัวอักษรมีจำนวน 25 แถว แต่ละแถวสามารถแสดงตัวอักษรได้ 80 ตัว
2. กราฟฟิกส์โหมด

 เป็น ระบบการแสดงผลแบบรูปภาพ โดยใช้การ์ดแสดงผลในการควบคุมการแสดงรูปภาพให้อยู่ในลักษณะของพิกเซล ซึ่งรูปภาพที่ใช้ในการแสดงผลนี้ จะอยู่ในรูปของตัวอักษร ข้อความหรือรูปภาพโดยการควบคุมตำแหน่งของพิกเซลให้แสดงผลได้ตามที่ต้องการDisplay buffer เป็นตำแหน่งของหน่วยความจำ RAM (Read Access Memory) ขนาด 16 K-byte มีตำแหน่งเริ่มต้นที่ &HB800 สามารถติดต่อกับหน่วยความจำได้ 2 วิธี โดยผ่าน CPU และ Graphics control unit ข้อมูล ที่เก็บในดิสเพลย์บัฟเฟอร์จะถูกอ่านออกมา และผ่านการตีความหมายพร้อมแสดงผล ข้อแตกต่างเบื้องต้นของเท็กซ์โหมดกับกราฟฟิกส์โหมด คือข้อมูลที่เก็บในดิสเพลย์จะถูกแปลความหมายของข้อมูลแล้ว

             เมื่อ ต้องการสร้างภาพกราฟฟิกส์ จะต้องให้ภาพกราฟฟิกส์นั้นปรากฏบนจอภาพทันที ภาพที่ปรากฏบนจอภาพนั้นจะมีลักษณะเป็นภาพนิ่งหรือภาพเคลื่อนไหวก็ได้ การควบคุมการแสดงกราฟฟิกส์แบบทั่ว ๆ พิจารณาได้ดังนี้การแสดงผลด้วยจอภาพแบบราสเตอร์ จะใช้หน่วยความจำทำการควบคุมตำแหน่งพิกเซลบนจอภาพ หน่วยความจำที่ใช้ในการแสดงผลเรียกว่าบิตแพลน (Bit plane) โดยหน่วยความจำขนาด 1 บิตสามารถควบคุมการแสดงผลของพิกเซลได้ 1 จุด ดังนั้นถ้าจอภาพมีจำนวนพิกเซล n จุด จะต้องใช้หน่วยความจำควบคุมการทำงานจำนวน n บิต
               และ การแสดงผลบนจอภาพสี จะต้องใช้หน่วยความจำทั้งหมดคือ 640 x480 x 3 = 921600 บิต หรือเท่ากับ 921600/8 = 115200 ไบต์ ซึ่งประกอบด้วยเฟรมบัฟเฟอร์ที่ใช้ในการแสดงสี 3 สี คือสีแดง สีเขียวและสีน้ำเงิน และจอภาพต้องมีปืนยิงลำแสงอิเล็กตรอน 3 สี เพื่อทำการผสมสีให้เกิดเป็นสีต่าง ๆ 
6. สีและแสงที่ใช้ในงานกราฟิก
สีที่ใช้ในงานด้านกราฟิกทั่วไปมี 4 ระบบ คือ
1. RGB
2. CMYK
3. HSB
4. LAB
· RGB
เป็นระบบสีที่ประกอบด้วยแม่สี 3 สีคือ แดง (Red), เขียว (Green) และสีน้ำเงิน (Blue) เมื่อนำมาผสมกันทำให้เกิดสีต่างๆ บนจอคอมพิวเตอร์มากถึง 16.7 ล้านสี ซึ่งใกล้เคียงกับสีที่ตาเรามองเห็นปกติ สีที่ได้จากการผสมสีขึ้นอยู่กับความเข้มของสี โดยถ้าสีมีความเข้มข้นมาก เมื่อนำมาผสมกันจะทำให้เกิดเป็นสีขาว จึงเรียกระบบสีนี้ว่า แบบ Additive หรือการผสมสีแบบบวก

· CMYK
เป็นระบบสีที่ใช้กับเครื่องพิมพ์ที่พิมพ์ออกทางกระดาษหรือวัสดุผิวเรียก อื่นๆ ซึ่งประกอบด้วยสีหลัก 4 สีคือ สีฟ้า (Cyan), สีม่วงแดง (Magenta), สีเหลือง (Yellow), และสีดำ (Black) เมื่อนำมาผสมกันจะเกิดสีเป็นสีดำแต่จะไม่ดำสนิทเนื่องจากหมึกพิมพ์มีความไม่ บริสุทธิ์ จึงเป็นการผสมสีแบบลบ (Subtractive) หลักการเกิดสีของระบบนี้คือ หมึกสีหนึ่งจะดูดกลืนแสงจากสีหนึ่งแล้วสะท้อนกลับออกมาเป็นสีต่างๆ เช่น สีฟ้าดูดกลืนแสงของสีม่วงแล้วสะท้อนออกมาเป็นสีน้ำเงิน ซึ่งจะสังเกตได้ว่าสีที่สะท้อนออกมาจะเป็นสีหลักของระบบ RGB การเกิดสีนี้ในระบบนี้จึงตรงข้ามกับการเกิดสีในระบบ RGB

· HSB
เป็นระบบสีแบบการมองเห็นของสายตามนุษย์ ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ
Hue คือสีต่างๆ ที่สะท้อนออกมาจากวัตถุแล้วเข้าสู่สายตาของเรา ซึ่งมักเรียกสีตามชื่อสี เช่น สีเขียว สีแดง สีเหลือง เป็นต้น
Saturation คือความสดของสี โดยค่าความสดของสีจะเริ่มที่ 0 ถึง 100 ถ้ากำหนด Saturation ที่ 0 สีจะมีความสดน้อย แต่ถ้ากำหนดที่ 100 สีจะมีความสดมาก
Brightness คือระดับความสว่างของสี โดยค่าความสว่างของสีจะเริ่มที่ 0 ถึง 100 ถ้ากำหนดที่ 0 ความสว่างจะน้อยซึ่งจะเป็นสีดำ แต่ถ้ากำหนดที่ 100 สีจะมีความสว่างมากที่สุด

· LAB
เป็นระบบสีที่ไม่ขึ้นกับอุปกรณ์ใด ๆ (Device Independent) โดยแบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ
“L” หรือ Luminance เป็นการกำหนดความสว่างซึ่งมีค่าตั้งแต่ 0 ถึง 100 ถ้ากำหนดที่ 0 จะกลายเป็นสีดำ แต่ถ้ากำหนดที่ 100 จะกลายเป็นสีขาว
“A” เป็นค่าของสีที่ไล่จากสีเขียวไปสีแดง
“B” เป็นค่าของสีที่ไล่จากสีน้ำเงินไปสีเหลือง
7. ชนิดรูปแบบไฟล์กราฟิก
Pixel (Picture + Element )
หน่วยพื้นฐานของภาพที่เป็นสี่เหลี่ยมเล็กๆที่บรรจุค่าสี(ลองซูมภาพของเราเข้าไป มากๆแล้วเราจะเห็นสี่เหลี่ยมเล็กๆ ที่แต่ละสี่เหลี่ยมที่เล็กสุดจะเก็บสีไว้ 1 สีครับ
Resolution(ความละเอียดของภาพ)
คือจำนวน Pixel ต่อพื้นที่หนึ่งหน่วย เช่น
-จำนวนเม็ดสีต่อตารางนิ้ว
pixels  per inch : ppi 
dot per inch : dpi
-จำนวนเม็ดสีต่อตารางเซนติเมตร
 pixel per cm : ppi
72 ppi              : งาน Website
100-150 ppi    :งานทั่วไป
300-350 ppi    :งานออกแบบสิ่งพิมพ์ที่ต้องการความคมชัดในการแสดงผลสูง
รูปแบบของภาพ
1.ภาพแบบ บิตแมป(Bitmap) หรือ ราสเตอร์(Raster)
คือภาพที่เกิดจากหน่วยภาพเล็กๆมารวมกันจนเป็นภาพใหญ่คล้ายจิ๊กซอร์สามารถดูได้โดยการซูมภาพเข้าไป
กล่าวคือภาพเหล่านี้ยิ่งซูม(ขยาย)ยิ่งแตก จนดูไม่รู้เรื่อง เช่นภาพนามสกุล .JPEG, .TIFF,.GIF เป็นต้น
2.ภาพแบบเวคเตอร์(Vector)คือภาพที่เกิดจากเส้นโค้ง, เส้นตรง และคุณสมบัติสีของเส้นนั้นๆที่เกิดจากการคำนวณทางคณิตศาสตร์(ที่เรา
มองไม่เห็นด้วยตา)กล่าวคือ ที่จุดๆหนึ่งของภาพที่เราซูมเข้าไปมันจะเกิดจากการกำหนดคุณสมบัติไว้ว่าภาพ
เกิดจากเส้นตรง หรือเส้นโค้งที่เอียงกี่องศา เก็บค่ารหัสสีอะไรไว้ เมื่อเราซูมขยายภาพไม่ว่าจะขนาดเท่าไหร่ก็ตามภาพมันจะไม่แตก(ไม่สูยเสียความละเอียดไป) เพราะการซูมภาพเป็นการคูณจำนวนเท่า ลงไปที่คุณสมบัติภาพนั่นเองดังนั้น ถ้าเราแก้ไขภาพก็คือไปแก้ไขคุณสมบัติทางคณิตศาสตร์ ไม่ว่าจะย่อหรือขยายกี่ครั้งภาพแบบนี้จะยังคมชัดเท่าเดิมภาพVector เหล่านี้ได้แก่-ภาพ .wmf (Clipart ที่เราไว้ตกแต่งใน Microsoft Office นั่นเอง) -ภาพใน Adobe Illustrator, Macromedia Freehand
ชนิดของภาพสำหรับงานกราฟฟิก
1.JPEG(Joint Photograhic's Experts Group)

จุดเด่น
-สนับสนุนสีได้มากถึง 24 bit
-สามารถกำหนดคุณภาพ และตั้งค่าการบีบอัดไฟล์ภาพได้
-ใช้ใน Internet(Worl Wild Web) มีนามสกุล.jpg
-มีโปรแกรมสนับสนุนการสร้างจำนวนมาก
-เรียกดูภาพได้ใน Graphic Browser ทุกตัว
จุดด้อย
-ไม่สามารถทำให้พื้นที่ของภาพเป็นแบบโปร่งใสได้(Transparent/Opacity)
-หากกำหนดค่าการบบอัดไว้สูง เมื่อส่งภาพจาก Server(แม่ข่าย)--->Client(ลูกข่าย) จะทำให้การแสดงผลช้า
เพราะต้องเสียเวลาในการขยายไฟล์


2.TIFF(Tag Image File Format)มักใช้ในงานสิ่งพิมพ์-Desktop publishing, 3D application, Faxing, Medical Imaging Application
(ประสบการณ์ตรงของข้าพเจ้าคือ ภาพที่เราทำและตกแต่งในPhotoshop และ Microsoft PowerPoint ไม่ว่าจะเซฟมาเป็นนามสกุลอะไรก็ตาม ตอนส่งเข้าเครื่องพิมพ์ที่โรงพิมพ์ เขาจะแปลงไฟล์และส่งเข้าเครื่องในนามสกุล .TIFF เท่านั้น ดังนั้นถ้าท่านออกแบบสิ่งพิมพ์ใน Photoshop หรือ MicrosoftPowerPoint ขอให้เซฟงานเป็นนามสกุล .TIFF ไปเลยครับ)
โดยรูปแบบของ TIFF มีหลายประเภทคือ -Grayscale, Color Pallete, RGB full color
จุดเด่น
-เป็นรูปแบบที่ทำให้ภาพแบบราสเตอร์หรือบิตแมป สามารถใช้งานร่วมกับ Appication ต่างๆรวมทั้งโปรแกรมจัดการภาพจากScaner
จุดด้อย
-ไฟล์ภาพขนาดใหญ่ เพราะต้องเก็บรายละเอียดความคมชัดไว้สูง


3.GIF(Graphics Interchange Format)
จุดเด่น
-เป็นที่นิยมมากที่สุดสำหรับภาพที่จะแสดงบน Web/Internet
-มีขนาดเล็กมาก
-สามารถทำพื้นให้เป็นแบบโปร่งใสได้(Transparent/Opacity)
-สามารถทำเป็นภาพเคลื่อนไหวบน WebPage ได้ โดยใช้เครื่องมือช่วยสร้างเช่น JAVA, Flash
-มีโปรแกรมสนับสนุนในการสร้างจำนวนมาก
-สามารถเรียกดูภาพได้ใน Graphic Browser ทุกตัว
จุดด้อย
-แสงภาพได้เพียง 256 สีเท่านั้น ไม่เหมาะสำหรับการนำเสนอภาพถ่ายหรืองานที่ต้องการความคมชัดสูง
4.PNG(Portable Network Graphics)
จุดเด่น
-เอาคุณสมบัติของ(JPEG+GIF) มาใช้คือ สีมากกว่า 256สีและโปร่งใสได้(Transparent)
-PNG มีการบีบอัดข้อมูลโดยไม่เสียคุณภาพ
-ทำให้โปร่งใสได้(Transparency) และยังสามารถควบคุมองศาของความโปร่งใส(Opacity)ได้ด้วย
-เก็บบันทึกภาพด้วยสีจริง(True Color) ได้เช่นเดียวกับตารางสี(Pallete) และสีเทา(Grayscale)แบบ GIF
จุดด้อย
-ไม่สนับสนุนภาพเคลื่อนไหว เพราะไม่สามารถเก็บภาพหลายๆภาพไว้ด้วยกันได้

8. การประยุกต์ใช้งานกราฟิก
คอมพิวเตอร์กราฟิกที่ประยุกต์ใช้ในการศึกษามีอยู่ด้วยกันดังนี้
1. ใช้เป็นสื่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ออนไลน์ (E-Learning) กล่าวคือ สามารถเรียนในลักษณะใดก็ได้ ซึ่งใช้การถ่ายทอดเนื้อหาผ่านทางอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ไม่ว่าจะเป็น คอมพิวเตอร์ เครือข่ายอินเทอร์เน็ต อินทราเน็ต เอ็กซ์ทราเน็ต หรือ ทางสัญญาณโทรทัศน์ หรือสัญญาณดาวเทียม (Satellite) ก็ได้ ซึ่งเนื้อหาสารสนเทศ อาจอยู่ในรูปแบบการเรียนที่เราคุ้นเคยกันมาพอสมควร เช่น คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction) การสอนบนเว็บ (Web Based Instruction) การเรียนออนไลน์ (On-line Learning) การเรียนทางไกลผ่านดาวเทียม หรืออาจอยู่ในลักษณะที่ยังไม่ค่อยเป็นที่แพร่หลายนัก เช่น การเรียนจาก วีดีทัศน์ตามอัธยาศัย (Video On-Demand) เป็นต้น
2. จัดระบบการเรียนการสอนทางไกลโดยใช้ลักษณะรูปแบบ VDO Conference สามารถเรียนรู้จากคนละที่ได้ มีการตอบข้อซักถามอย่างทันท่วงทีได้การประชุมกันโดยมองเห็นกันด้วยวิธีการทางเทคโนโลยีการสื่อสาร โดยไม่ต้องมาพบกันจริงๆ โดยการประชุมกันนั้นอาจเป็นรูปแบบ การประชุมกันของกลุ่มบุคคลในสถานที่ต่างๆ โดยใช้อุปกรณ์ด้านการสื่อสารและเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ เข้ามาช่วย ทำให้ไม่ต้องเดินทาง ไม่เสียเวลา ไม่เสียค่าใช้จ่ายอื่นๆ ทำให้ผู้เรียน ไม่ต้องเดินทางเข้ามาที่สถานศึกษา ผู้สอนไม่ต้องเดินทางไปสอนในสถานที่ต่างๆ เพียงจัดเตรียมสถานที่ในพื้นที่ที่ต้องการ และเตรียมอุปกรณ์สำหรับการสื่อสารและแสดงภาพ เมื่อระบบเริ่มทำงาน ผู้เรียนในสถานที่ต่างๆ จะเรียนไปพร้อมๆ กัน เช่น ภาคเหนือ ภาคใต้ ภาคอีสาน ภาคตะวันออก ภาคตะวันตก ภาคกลาง และสามารถสอบถามหรือโต้ตอบกันโดยใช้ระบบสื่อสารที่มี จะเห็นได้ว่าประหยัดและได้ประโยชน์อย่างยิ่งเป็นการใช้ทรัพยากรบุคคลที่มีความรู้ความสามารถได้อย่างกว้างขวาง
3. รูปแบบการเรียนโดยใช้สื่อ CAI หรือ "Computer Aided Instruction" หรือบางแหล่งอาจจะใช้คำว่า "Computer Assisted Instruction" โดยมีการใช้คำในภาษาไทยว่า "สื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน" เป็นกระบวนการเรียนการสอน โดยนำเอาสื่อคอมพิวเตอร์ มาใช้ในการนำเสนอเนื้อหา เรื่องราวต่างๆ มีลักษณะเป็นการเรียนโดยตรง และเป็นการเรียนแบบมีปฏิสัมพันธ์ (Interactive) ซึ่งก็คือ สามารถโต้ตอบระหว่างผู้เรียนกับคอมพิวเตอร์ได้
สร้างแรงจูงใจในการเรียนรู้ ดึงดูดความสนใจ โดยใช้เทคนิคการนำเสนอด้วยกราฟิก ภาพเคลื่อนไหว แสง สี เสียง สวยงามและเหมือนจริง ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ และสามารถเข้าใจเนื้อหาได้เร็ว ด้วยวิธีที่ง่ายๆ ผู้เรียนมีการโต้ตอบ ปฏิสัมพันธ์กับคอมพิวเตอร์ และบทเรียน มีโอกาสเลือก ตัดสินใจ และได้รับการเสริมแรงจากการได้รับข้อมูลย้อนกลับทันที ช่วยให้ผู้เรียนมีความคงทนในการเรียนรู้สูง เพราะมีโอกาสปฏิบัติกิจกรรมด้วยตนเอง ซึ่งจะเรียนรู้ได้จากขั้นตอนที่ง่ายไปหายากตามลำดับ โดยผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ตามความสนใจ และความสามารถของตนเอง บทเรียนมีความยืดหยุ่น สามารถเรียนซ้ำได้ตามที่ต้องการ

การประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์กราฟิกในการศึกษา
คอมพิวเตอร์กราฟิกที่ประยุกต์ใช้ในการศึกษา มีอยู่ด้วยกันดังนี้
1. ใช้เป็นสื่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ออนไลน์ (E-Learning) กล่าวคือ สามารถเรียนในลักษณะใดก็ได้ ซึ่งใช้การถ่ายทอดเนื้อหาผ่านทางอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ไม่ว่าจะเป็น คอมพิวเตอร์ เครือข่ายอินเทอร์เน็ต อินทราเน็ต เอ็กซ์ทราเน็ต หรือ ทางสัญญาณโทรทัศน์ หรือสัญญาณดาวเทียม (Satellite) ก็ได้ ซึ่งเนื้อหาสารสนเทศ อาจอยู่ในรูปแบบการเรียนที่เราคุ้นเคยกันมาพอสมควร เช่น คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction) การสอนบนเว็บ (Web Based Instruction) การเรียนออนไลน์ (On-line Learning) การเรียนทางไกลผ่านดาวเทียม หรืออาจอยู่ในลักษณะที่ยังไม่ค่อยเป็นที่แพร่หลายนัก เช่น การเรียนจาก วีดีทัศน์ตามอัธยาศัย (Video On-Demand) เป็นต้น



2. จัดระบบการเรียนการสอนทางไกลโดยใช้ลักษณะรูปแบบ VDO Conference สามารถเรียนรู้จากคนละที่ได้ มีการตอบข้อซักถามอย่างทันท่วงทีได้การประชุมกันโดยมองเห็นกันด้วยวิธีการทางเทคโนโลยีการสื่อสาร โดยไม่ต้องมาพบกันจริงๆ โดยการประชุมกันนั้นอาจเป็นรูปแบบ การประชุมกันของกลุ่มบุคคลในสถานที่ต่างๆ โดยใช้อุปกรณ์ด้านการสื่อสารและเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ เข้ามาช่วย ทำให้ไม่ต้องเดินทาง ไม่เสียเวลา ไม่เสียค่าใช้จ่ายอื่นๆ ทำให้ผู้เรียน ไม่ต้องเดินทางเข้ามาที่สถานศึกษา ผู้สอนไม่ต้องเดินทางไปสอนในสถานที่ต่างๆ เพียงจัดเตรียมสถานที่ในพื้นที่ที่ต้องการ และเตรียมอุปกรณ์สำหรับการสื่อสารและแสดงภาพ เมื่อระบบเริ่มทำงาน ผู้เรียนในสถานที่ต่างๆ จะเรียนไปพร้อมๆ กัน เช่น ภาคเหนือ ภาคใต้ ภาคอีสาน ภาคตะวันออก ภาคตะวันตก ภาคกลาง และสามารถสอบถามหรือโต้ตอบกันโดยใช้ระบบสื่อสารที่มี จะเห็นได้ว่าประหยัดและได้ประโยชน์อย่างยิ่งเป็นการใช้ทรัพยากรบุคคลที่มีความรู้ความสามารถได้อย่างกว้างขวาง



3. รูปแบบการเรียนโดยใช้สื่อ CAI หรือ "Computer Aided Instruction" หรือบางแหล่งอาจจะใช้คำว่า "Computer Assisted Instruction" โดยมีการใช้คำในภาษาไทยว่า "สื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน" เป็นกระบวนการเรียนการสอน โดยนำเอาสื่อคอมพิวเตอร์ มาใช้ในการนำเสนอเนื้อหา เรื่องราวต่างๆ มีลักษณะเป็นการเรียนโดยตรง และเป็นการเรียนแบบมีปฏิสัมพันธ์ (Interactive) ซึ่งก็คือ สามารถโต้ตอบระหว่างผู้เรียนกับคอมพิวเตอร์ได้
สร้างแรงจูงใจในการเรียนรู้ ดึงดูดความสนใจ โดยใช้เทคนิคการนำเสนอด้วยกราฟิก ภาพเคลื่อนไหว แสง สี เสียง สวยงามและเหมือนจริง ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ และสามารถเข้าใจเนื้อหาได้เร็ว ด้วยวิธีที่ง่ายๆ ผู้เรียนมีการโต้ตอบ ปฏิสัมพันธ์กับคอมพิวเตอร์ และบทเรียน มีโอกาสเลือก ตัดสินใจ และได้รับการเสริมแรงจากการได้รับข้อมูลย้อนกลับทันที ช่วยให้ผู้เรียนมีความคงทนในการเรียนรู้สูง เพราะมีโอกาสปฏิบัติกิจกรรมด้วยตนเอง ซึ่งจะเรียนรู้ได้จากขั้นตอนที่ง่ายไปหายากตามลำดับ โดยผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ตามความสนใจ และความสามารถของตนเอง บทเรียนมีความยืดหยุ่น สามารถเรียนซ้ำได้ตามที่ต้องการ
4. การสร้างผลงานต่าง ๆ ในแบบวิดีโอ วีดีทัศน์ เพื่อนำมาใช้ประกอบในการเรียนการสอนวิชาต่าง ๆ ได้ดียิ่งขึ้น
5. การฝึกการเรียนรู้ในรูปแบบเกม เกมออนไลน์ เป็นการฝึกสร้างทักษะ ฝึกสมองและสติปัญญาให้กับเยาวชน ได้มีการพัฒนาการเรียนรู้ที่รวดเร็วยิ่งขึ้น
การประยุกต์เพื่อใช้ในชีวิตประจำวัน และประกอบอาชีพ มีอยู่ด้วยกันดังนี้
 1. DWG (DRAWING) ภาพ - 2D (ภาพ 2 มิติ)
            - มาตรฐานการ สื่อของ Drawing
            - การมอง Top, Front, Side Views แต่ละมาตรฐาน
            - Auxiliary Viwes (มุมมองในส่วนที่สำคัญของ DWG โดยทำมุม 900 กับสายตา )
            - 3D (ภาพ 3 มิติ)
        2. MODELING COMMAND
            - Wire Frame Command (ตามมาตรฐานที่ใช้อ้างอิงกับ Software ส่วนใหญ่)
            - Surface and Solid Command (ตามมาตรฐานที่ใช้อ้างอิงกับ Software ส่วนใหญ่)
            - Other Edit (ตามมาตรฐานที่ใช้อ้างอิงกับ Software ส่วนใหญ่) Cad/Cam
        3. การใช้คำสั่งประกอบการปฏิบัติงานจริง
            - ทำความเข้าใจกับลำดับขั้นตอน การจัดการของ 2D และ 3D
            - การตัดสินใจเลือก Surface Command และ Solid Command
            - การประยุกต์การทำงาน ให้เข้ากับบุคลิกส่วนตัว Concept


 จัดทำโดย
 นายณัฐพงศ์  โตคณิตชาติ   ม.4/1   เลขที่  1
นายวุฒิภัทร  วัฒนานุกร   ม.4/1  เลขที่  6
นายหัสการ  กมลพงศธร  ม.4/1   เลขที่  58
 โรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย จ.เชียงใหม่

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น